วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประกาศขายหอพัก


ลายไหม รีสอร์ท [Laymai Resort]

@ ที่อยู่ : 27 หมู่ 2 ต.เมืองศรีไค ถ.วารินฯ-เดชฯ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 [แถวหน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี] 

















หอพัก ลายไหม รีสอร์ท!!
มีบ้านทั้งหมด 4 หลัง เหมือนในรูป
บ้าน 1 หลัง มี 2 ชั้น 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
ในเนื้อที่ 133 ตารางวา
ราคาขาย 6,000,000 บาท (ราคาพูดคุยได้)
              >> มีตู้เสื้อผ้า
                     มี WiFi 
                     มีเครื่องทำน้ำอุ่น
                     มีแอร์, พัดลม
                     มีทีวี (ติดเคเบิ้ล)
ติดต่อซื้อหอพักที่ : 0850286118, 0854944816
E - mail : benz_zneb@windowslive.com
                                              

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

เส้นทางมาลายไหม รีสอร์ท #


รูปภาพภายในห้องพัก

ห้องพัก
- สวย,สะอาด,สะบาย
- มีแอร์
- มีทีวีติดเคเบิ้ล
ห้องน้ำ
- มีเครื่องทำน้ำอุ่น








รูปภายนอกของลายไหมรีสอร์ท !!* มี 4 หลัง



สนใจติดต่อเราด้ายนะคะตามเบอร์ที่ไห้ไว้หรืออีเมลล์ที่แจ้งไว้นะคะ!!

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยไม้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก : เอื้องไข่ปลา เอื้องหัวเข็มหมุด


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum moniliforme  Parish & Rchb.f.
ชื่อสามัญ : The Necklace Bulbophyllum     

เกี่ยวกับชื่อไทย
เมื่อมองดูจากภาพของลำต้น เราจะพบว่าสอดคล้องกับชื่อที่นิยมเรียกกันนั้นคือ  เอื้องไข่ปลา   เพราะลำลูกกล้วยที่มีขนาดเล็กเป็นเม็ด
กลมๆเรียงต่อกันเป็นเส้น   ซึ่งมักขึ้นติดกันหลายๆเส้นรวมอยู่กันเป็นกลุ่มบนต้นไม้  หรืออาจมองดูได้อีกแบบว่า   ลำลูกกล้วยที่ปรากฏให้เห็นเหล่านั้นมีขนาดใกล้เคียง  และคล้ายหัวเข็มหมุด  (เอื้องหัวเข็มหมุด เป็นชื่อเรียกที่มาจาก จ.ระนอง)

เกี่ยวกับชื่อสามัญ
The Necklace Bulbophyllum เป็นการกล่าวอ้างตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่ากล้วยไม้สิงโตชนิดนี้มีลำลูกกล้วยที่เรียงต่อกันเป็นเส้นมองดูคล้ายสร้อยคอที่ร้อยด้วยเม็ดลูกปัดหรือไข่มุกนั่นเองเกี่ยวกับชื่อวิทยาศาสตร์Bulbophyllum มาจากคำว่า bolbos แปลว่า หัว (bulb)และคำว่า phyllon แปลว่า ใบ เป็นการอ้างถึงหัวที่มีใบโผล่ขึ้นมาmoniliform หมายถึง ลักษณะเม็ดกลมที่ร้อยต่อกันเป็นเส้นยาวBulbophyllum moniliforme  จึงเป็นการอ้างถึงลักษณะของลำลูกกล้วยชนิดนี้ที่เป็นเม็ดกลมเรียงตัวเป็นเส้นยาวบนเหง้าเดียวกัน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นหัวกลมค่อนข้างแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มม. เรียงตัวต่อกันบนเหง้าลักษณะ
เป็นเส้นยาว มีใบรูปรีขนาดเล็ก 1 ใบ ขนาด กว้าง 0.7-1 มม. ยาว1.5-2 มม. ทิ้งใบเมื่อออกดอก ดอกออกเดี่ยว ก้านดอกยาว 0.8-1 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีส้มอ่อนมีลายเส้นตามยาวสีแดง กลีบปากสีแดงเข้ม
ฤดูออกดอก  : พฤศจิกายน-มกราคม
แหล่งที่พบ  : ป่าดิบชื้นทางภาคใต้
การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ไทย ลาว และเวียดนาม
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : กล้วยไม้ชนิดนี้มีลักษณะที่คล้ายกับ B. subtenellum มาก แต่มีข้อแตกต่างตรงที่ลายเส้นบนกลีบเลี้ยงคู่ข้างที่มีเพียง 3 เส้นเท่านั้น และมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย

กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กล้วยไม้ว่านเพชรหึงหรือบางท่านเรียกว่านหางช้างนี้เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ในสกุล Grammatophyllum เป็นพืชใบเลี้ยงเดียวในวงศ์ Orchidaceae ลำต้นสูงได้ถึงประมาณ ๒ เมตร ใบเรียวยาว ดอกเป็นช่อชูตั้งขึ้นมีดอกประมาณช่อละ ประมาณ ๑๒๐-๑๕๐ ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองจุดสีน้ำตาลและบางต้นจะมีจุดสีแดงซึ่งหาได้ยากมาก (ที่บ้านมีดอกสีแดงอยู่สองกอเคยมีผู้รู้บอกว่าเป็นของทางใต้ แต่ปีนี้ไม่ออกดอก) ทนแล้งได้ดีไม่ต้องการการเอาใจใส่มาก เคยมีผู้มาขอลำต้นที่แก่จัดๆบอกว่าจะเอาไปเข้าเครื่องยาไทย แต่ไม่ได้ถามว่าสรรพคุณมีดีทางไหนบ้าง ยังไงใครมีข้อมูลช่วยบอกด้วยนะครับ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส

กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น
               กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
                การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะอาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้

เขากวาง(Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.)
             พบกระจายพันธุ์ตามธรรฒชาติในประเทศไทยแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาคกลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้นสีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม





กาตาฉ่อ(Phalaenopsis decumbens Holtt.)
               พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดกขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6 ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides)

            กล้วยไม้สกุลกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาจขึ้นเป็นต้นเดียวโดดๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว บางต้นมียอดเดียว บางต้นแตกเป็นกอ มีหลายยอด เมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมา แต่ปลายยอดยังคงชี้ขึ้นข้างบน ช่อดอกส่วนใหญ่โค้งปลายช่อห้อยลงมา รากเป็นระบบรากอากาศ ดอกมีขนาดปานกลาง มักมีกลิ่นหอม มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตา เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย มีบทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่น ผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส (Aeridostylis) สำหรับกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีดังนี้
กุหลาบกระเป๋าปิด(Aerides odorata Lour. )
                กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียว
ในสกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง
2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาค
ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในลาว กัมพูชา
เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า
อินเดีย เนปาล และภูฎาน
               กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียว
เล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลาย
ยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง ใบยาวประประมาณ
15-25 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เรียงสลับ
ซ้ายขวา ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบาง
ไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออก
ดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอก
ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรและห้อยลง แต่ละ
ช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3
เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วง
อมแดงอ่อนๆ ส่วนปลายปากเป็นสีม่วง เดือยดอก
โค้งงอนขึ้นคล้ายเขาดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดอกกุหลาบและบานนานประ
มาณ 1-2 สัปดาห์
               สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออก
ไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและบิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อ
ดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อย
กุหลาบเหลืองโคราช(Aerides houlettiana Rchb. f )
                กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้าย
กุหลาบกระเป๋าเปิด แต่มีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่
จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาว
ของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด
ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และพบใน ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม
               กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณ
เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลือง
โคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิด
เพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือ
บางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือก
สีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศ
ไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง
กุหลาบแดง(Aerides crassifolia Parish ex Burbidge)
                กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาว
เห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้
ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้าง
ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมาก
หรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทย
พบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบ
ในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม
               กุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึง
พฤษภาคม มีช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก
เท่านั้น ดอกมีสีม่วงแดง การจัดระเบียบดอกในช่อ
ไม่งดงามเหมือนกล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น
กุหลาบอินทจักร(Aerides flabellata Rolfe ex Downie)
                กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิด
เดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะ
แหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาค
เหนือ และพบในพม่า ลาว และมณฑลยูนานของจีน
               กุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง
ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบ
ดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้ม
สีน้ำตาลอมม่วง กลีบปากเป็น 3 หยัก สีขาวมีจุดสี
ชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกขนาด 2-3
เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤกษภาคม
               จุดเด่นของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่เดือยยาวและ
งอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียก
ว่า กล้วยไม้เดือยงาม ก็ได้  
กุหลาบมาลัยแดง(Aerides multiflora Roxb.)
               กุหลาบมาลัยแดงมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบ
น่าน แตกต่างกันที่ปลายปาก คือ ปากของกุหลาบน่าน
เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ปากของกุหลาบมาลัยแดงเป็น
รูปหัวใจ ปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประ
เทศไทยพบกระจายพันธุ์แถบภาคเหนือ อีสาน
นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบใน
ประเทศเนปาล สิกขิม ภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา
และเวียดนาม
               กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง
ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาวประ
มาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ
20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอก
เบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง
มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตก
แขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
ต้นที่ดอกมีสีขาวล้วนเรียกว่า “มาลัยเผือก”
กุหลาบชมพูกระบี่ กุหลาบพวงชมพู(Aerides
krabiense Seidenf.)
               กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู พบครั้งแรกที่
จังหวัดกระบี่ และต่อมาได้พบที่จังหวัดใกล้เคียงกัน
เช่นที่พังงา และเกาะต่างๆ ในบริเวณนั้น รวมทั้งที่เกาะ
ลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตาม
หน้าผาริมทะเลที่ได้รับแสงแดดเต็มที่
               กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบ
เทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบใน
ประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบ
หนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม กว้าง
ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติ
เมตร ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฎมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรือ
อากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง
               กุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอก
ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้น
พบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว
มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบ
มาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตก
ต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดง
ปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน
กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา
(Aerides rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt.)
               กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก
เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสาม
เหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากัน
ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมาก
นอกจากนี้ยังพบในภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว เวียด
นาม และมณฑลยูนนานของจีน
               กุหลาบน่านช่อดอกมีก้านส่งแข็ง ชี้เฉียง
ลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้น
สมบูรณ์ ช่อดอกจะแตกแขนง ดอกเบียดกันแน่นช่อ
ดอกใหญ่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว
มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกใน
เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
กุหลาบกระเป๋าเปิด(Aerides falcata Lindl.)
               กุหลาบกระเป๋าเปิดพบขึ้นอยู่ในทุกภาคของ
ประเทศไทยและยังพบในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย
พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม เป็นกล้วยไม้ที่มี
ปลายปากกว้างอ้าออก ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอก
ค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับ
ปลายปาก ใบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร กว้าง
2-4 เซนติเมตร
               กุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อ
ดอกห้อย ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย
มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพู
ที่ปลายกลีบ ขนาดดอกประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอม